เมนู

9. อฏฺฐิมิญฺชํ (เยื่อในกระดูก)


คำว่า อฏฺฐิมิญฺชํ คือ เยื่อที่อยู่ภายในกระดูกเหล่านั้น ๆ เยื่อใน
กระดูกนั้น ว่าโดยสี มีสีขาว. ว่าโดยสัณฐานเยื่อที่อยู่ภายในแห่งกระดูกท่อน
ใหญ่ ๆ มีสัณฐานดังยอดหวายใหญ่ที่เขาลนไฟยัดไว้ในกระบอกไม้ไผ่ เยื่อที่
อยู่ภายในกระดูกท่อนเล็ก ๆ มีสัณฐานดังยอดหวายเล็กที่เขาลนไฟยัดไว้ในปล้อง
แห่งข้อไม้ไผ่ (บางแห่งว่า ในปล้องไม้อ้อ) ว่าโดยทิศ เกิดในทิศทั้งสอง.
ว่าโดยโอกาส ตั้งอยู่ภายในกระดูกทั้งหลาย. ว่าโดยปริจเฉท กำหนดด้วยพื้น
ภายในแห่งกระดูกทั้งหลาย. นี้เป็นสภาคปริเฉทของเยื่อในกระดูก ส่วนวิสภาค-
ปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.

10. วกฺกํ (ไต โบราณว่า ม้าม)


คำว่า วกฺกํ คือ ไต เป็นก้อนเนื้อ 2 ก้อน มีขั้วเดียวกัน ไตนั้น
ว่าโดยสี มีสีแดงอ่อนดังสีเม็ดไม้ทองหลาง. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานดัง
สะบ้าคู่สำหรับเล่นของเด็ก ๆ หรือมีสัณฐานดังผลมะม่วงคู่มีขั้วเดียวกัน. ว่า
โดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน. ว่าโดยโอกาส ตั้งอยู่โดยเป็นขั้วเดียวกับด้วย
เอ็นใหญ่ มีรากเดียวกัน ออกจากหลุมคอไปหน่อยหนึ่งแล้วก็แยกออกเป็น 2
เส้น โอบเนื้อหัวใจ. ว่าโดยปริจเฉท ไตกำหนดได้ด้วยส่วนที่เป็นไต. นี้เป็น
สภาคปริจเฉทของไต ส่วนวิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.

11. หทยํ (เนื้อหัวใจ)


คำว่า หทยํ คือ เนื้อหัวใจ เนื้อหัวใจนั้น ว่าโดยสี มีสีแดงดังสี
หลังกลีบดอกปทุม. ว่าโดยสัณฐาน มีสัณฐานดังดอกปทุมตูม ที่เขาปลิดกลีบ
ข้างนอกออกแล้วตั้งคว่ำลง ภายนอกเกลี้ยง แต่ภายในเป็นเช่นกับภายในผล

บวบขม เนื้อหัวใจของคนมีปัญญาแย้มบานหน่อยหนึ่ง ของคนผู้ไร้ปัญญา
เป็นดังดอกบัวตูมนั่นแหละ. ก็ภายในของเนื้อหัวใจนั้น เป็นหลุมมีประมาณจุ
เมล็ดในดอกบุนนาคได้ ในที่ใด โลหิตมีประมาณกึ่งฟายมือขังอยู่ มโนธาตุ
และมโนวิญญาณธาตุอาศัยที่ใดเป็นไปอยู่ ก็แลโลหิตนั้น ๆ ในที่นั้น ๆ ของ
คนมีราคจริตเป็นสีแดง ของคนมีโทสจริตเป็นสีดำ ของคนมีโมห-
จริตเป็นเช่นกับสีน้ำล้างเนื้อ ของคนมีวิตักกจริตเป็นสีเช่นกับน้ำต้ม
ถั่วพู ของคนมีสัทธาจริตเป็นสีดังดอดกรรณิการ์ ของคนมีปัญญา-
จริต ใส ผุดผ่อง ไม่หมองมัว ขาว บริสุทธิ์
ย่อมปรากฏรุ่งเรืองอยู่
ดุจแก้วมณีบริสุทธิ์ที่เจียระไนแล้ว. ว่าโดยทิศ เกิดในทิศเบื้องบน. ว่าโดย
โอกาส ตั้งอยู่ใกล้ท่ามกลางระหว่างถันทั้ง 2 ในภายในสรีระ. ว่าโดยปริจเฉท
กำหนดโดยส่วนที่เป็นเนื้อหัวใจ. นี้เป็นสภาคปริเฉทของเนื้อหัวใจ ส่วน
วิสภาคปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.

2. ยกนํ (ตับ)


คำว่า ยกนํ คือ เเผ่นเนื้อคู่ ตับนั้น ว่าโดยสี มีสีแดงพื้นเหลือง
ไม่แดงจัดดังสีหลังกลีบกุมุท (ดอกบัวแดง). ว่าโดยสัณฐาน ที่โคนเป็นแผ่น
เดียวกัน ที่ปลายเป็น 2 แฉก มีสัณฐานดังใบทองหลาง. อนึ่ง ตับนั้น
สำหรับของคนไม่มีปัญญา เป็นแผ่นใหญ่แผ่นเดียวเท่านั้น ของคน
มีปัญญา เป็นแผ่นเล็ก ๆ 2 หรือ 3 แผ่น.
ว่าโดยทิศ เกิดในทิศเบื้อง
บน. ว่าโดยโอกาส อาศัยอยู่ข้างขวาภายในระหว่างถันทั้งคู่ตั้งอยู่. ว่าโดย
ปริจเฉท ตับก็กำหนดโดยส่วนที่เป็นตับ. นี้เป็นสภาคปริจเฉท ส่วนวิสภาค-
ปริจเฉท เช่นกับผมนั่นแหละ.